วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

Smile Community Day เปิดตัวแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชน "เชียงรากน้อย"


หลังการบูรณาการงานบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน
ในภาคการศึกษาที่ 1/2555 นักศึกษาปี 3 วิชา BD 401 Stakeholder Insight and Analysis  ได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมบริการวิชาการ 10 กิจกรรมย่อย ภายใต้หลัก "4S: Small-Smart-Smile-Sustainable"

และในภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษาปี 4 วิชา BD 307  Brand Communications Project ได้นำกิจกรรม "แบรนด์อาสา อาสาสร้างแบรนด์" มาต่อยอด หลังจากที่น้องๆปี 3 ได้แนะนำการสร้างแบรนด์เบื้องต้นให้กับเจ้าของธุรกิจแบบถึงบ้าน คราวนี้ชุมชนมาเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษาในห้องเรียน อบรมขั้นตอนการสร้างแบรนด์  หลังจากปิดคอร์ส ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ก็เริ่มมีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชน "เชียงรากน้อย ชุมชนแห่งรอยยิ้ม" หรือ "Chiangraknoi Smile Community ภายใต้หัวใจของความเป็นแบรนด์ที่มีน้ำใจและรอยยิ้ม และจะทดลองวางจำหน่ายที่ร้านค้าสหกรณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ นับเป็นก้าวแรกที่จะเปิดตัวแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแก่นักศึกษาและบุคลากรใน มหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสก้าวต่อไปที่จะยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน





























วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

แบรนด์ "เชียงรากน้อย" ชุมชนแห่งรอยยิ้ม

แบรนด์ "เชียงรากน้อย"

แบรนด์ท้องถิ่น ที่เกิดจากความตั้งใจของกลุ่มชาวบ้าน
ที่ต้องการสร้างการรับรู้และยอมรับในคุณค่าของ
ของดี ภูมิปัญญา ความรู้ ที่เป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชน
เพื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ให้กับต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี





50 goodness BU 50 year

50 พลังความดี 50 ปี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

50 พลังความดี 50 ปี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คลิป 50 กิจกรรมความดี 50 ปี มหวิทยาลัยกรุงเทพฯ

http://www.youtube.com/watch?v=gUDgf_1O--w

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงการบัดดี้อาสา และ 50 พลังความดี 50 ปีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

กำหนดการงาน  “50 พลังความดี  50 ปี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ”
วันพุธที่  13  มีนาคม  2556
ณ  โถงอาคารหอสมุดสุรัตน์ ฯ  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  วิทยาเขตรังสิต
 
09.00 – 10.00        ลงทะเบียน
10.00 – 10.10        VDO  Presentation : เปิดเวที...อวดดี  โอ เค ป่ะ
10.10 – 10.15        MC กล่าวตอนรับ
10.15 – 10.25        พิธีเปิดงาน โดย  คณบดีคณะนิเทศศาสตร์  
10.25 – 10.30        อวดดี  อวดโชว์  Opening :  การแสดงเปิดงาน
10.30 – 10.45        “คนสวยอวดดี”  พูดคุยกับ กรรณิกา  ขันแก้ว  รอง Miss World Next Top Model 2012
10.45 – 11.15        อวดดี CSR   ร่วมเสวนาเปิดวิสัยทัศน์ CSR กับ ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ปตท.
11.15 – 11.25        อวดดี...คลิปโดนโดน (1)
11.25 – 11.40        อวดดี On Ground
11.40 – 12.10        เล่นเกมส์   “ไล่ล่าหาดี”   และ  “อวดดีมีคู่”
12.10 – 12.40        Mini Concert  จาก ”ไม่ต้องห่วงฉัน”
12.40 – 12.50        อวดดี...คลิปโดนโดน (2)
12.50 – 13.00        อวดดี กับ บัดดี้อาสา 
12.55 – 13.00        “Leader  อวดดี เพื่อพ่อ”  การแสดงจาก Cheer Leader       
13.00 – 13.10        แฟชั่นโชว์ The  Fifty Buddy อาสา
13.10 – 13.20        มินิคอนเสิร์ต  จากศิลปิน  เค  AF9
13.20 – 13.25        ประกาศผล 3 ทีม บัดดี้อาสา ที่ผ่านเข้ารอบ
13.50 – 14.20        อวดดี  อวดโดน  3 ทีม บัดดี้อาสา นำเสนอโครงการพร้อมคอมเม้นเตเตอร์ให้คำแนะนำ
14.20 – 14.40        อวดดีไอดอล  ศิลปิน ดาราร่วมเสวนาประสบการณ์ความดี  จุดประกายอวดดีไอดอลแก่เยาวชน
14.40 – 15.10        Talk Show   “อวดดี...เปลี่ยนชีวิต อุทิศตัวเพื่อปลุกความดีในใจคน”
โดยคุณ อรพิมพ์ รักษาผลการแสดงชุด “เพลงของพ่อ” 
15.10 – 15.20        ประกาศผลรางวัล  "Best Buddy...อวดดี โดนใจ"   
มอบรางวัลคู่หูชนะเลิศ  รวมถ่ายภาพเพื่อเป็นที่ระลึก
15.20 – 15.30        อวดดี...คลิปโดนโดน (3)
15.30 – 15.40        ประกาศผลรางวัล Popular Vote คลิปดี โดนใจ    พร้อมมอบรางวัล Popular Vote
15.50 – 16.00        พิธีกรกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนและปิดงาน
16.00 – 16.15        อวดดี  อวดโชว์  การแสดงปิดเวที
16.15 – 16.30        VDO ปิดงาน  เบื้องหลังพลังคนอวดดี  

เชิญชมภาพความดีและรายละเอียดโครงการได้ที่ 

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงการ 50 ความดี 50 ปีม.กรุงเทพ

 


โครงการ 50 ความดี... 50 ปี ม.กรุงเทพ

หลักการและเหตุผล
ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านวัตถุเพื่ออำนวยความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการบริโภคอันไม่จำกัดของมนุษย์ การพัฒนาประเทศในสังคมยุคบริโภคนิยมจึงวัดกันที่ความเจริญทางวัตถุและรายได้ประชาชาติ ผู้คนในสังคมต่างให้ความสำคัญกับความเจริญทางวัตถุ นับถือกันที่ฐานะความร่ำรวยจนหลงลืมความดีความงดงามทางจิตใจ

สังคมมนุษย์เราจะดำรงอยู่และพัฒนารุดหน้าต่อไปได้ก็ด้วยสมาชิกในสังคมมีคุณธรรม มีความดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หันมาทำความดีให้แก่กัน โดยเริ่มต้นจากคนใกล้ตัว แล้วค่อยขยายสู่ชุมชนรอบข้างและสังคมไทย จากความดีเล็กๆ ที่หลากหลาย หลอมรวมกันเข้าเป็นก็จะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ในสังคมให้บรรเทาลงได้ สังคมไทยที่มีน้ำใจอบอุ่นและน่าอยู่ก็จะกลับคืนมาสู่พวกเราด้วยความดีจากมือของพวกเราทุกคน

ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชนซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติและเป็นพลังในการร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้ดีขึ้น จึงจัดโครงการ 50 ความดี... 50 ปี ม.กรุงเทพ ให้นักศึกษาได้ลงมือทำความดีด้วยตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ ใกล้ตัว อันเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังความมีจิตอาสา รู้จักเสียสละช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่าแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชา PR406 : Event and Sponsorship Communication ที่มุ่งบูรณาการองค์ความรู้ในสาขาวิชาฯ มาใช้ประโยชน์ และเปิดโอกาสให้นักศึกษานำทฤษฎีความรู้ที่เรียนมาประยุกต์สร้างสรรค์กิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงของสังคม เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษาผู้จะสำเร็จเป็นบัณฑิตนิเทศศาสตร์ต่อไปในอนาคต ทั้งยังเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ร่วมสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไปถึงวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยกรุงเทพอีกด้วย
วัตถุประสงค์
  • 1. เพื่อเผยแพร่เรื่องราวการทำความดี กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบ
  • 2. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เยาวชน และบุคคลในสังคมหันมาทำความดีเพื่อสังคม
  • 3. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • 4. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพและชุมชนโดยรอบ
  • 5. เพื่อเผยแพร่ผลงานกิจกรรมสร้างสรรค์ของนักศึกษาสู่สายตาบุคคลภายนอกและนำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัย
  • 6. เพื่อสร้างการรับรู้แก่สาธารณชนถึงวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • 7. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้จากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม และเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์
ผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเป้าหมายโครงการ)
  • • นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพทุกชั้นปี
  • • นักเรียน นักศึกษาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
  • • ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย
  • • อาจารย์และเจ้าหน้าที่และบุคลภายนอกที่มาติดต่อธุระกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • • สื่อมวลชนสาขาต่างๆ
รูปแบบของโครงการ
  • • นิทรรศการแสดงผลงานกิจกรรมเพื่อสังคม โดยนักศึกษาวิชา PR 406
  • • การออกบูธแสดงผลงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมจากบริษัท ห้างร้าน และสินค้าแบรนด์ต่างๆ
  • • กิจกรรมบนเวทีเพื่อให้ความรู้ ความบันเทิง และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทำความดีเพื่อสังคม
  • • การสัมมนาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อบริการความรู้แก่สังคม โดยนักศึกษาวิชา PR 409
วันเวลาและสถานที่จัดกิจกรรม
กิจกรรมจัดในวันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 ระหว่างเวลา 10.00 - 16.30 น. ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารหอสมุดสุรัตน์ฯ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • 1. นักศึกษาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นว่าการทำความดีสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเริ่มที่ตัวเราเอง ตลอดจนได้เห็นถึงผลดีและความสำคัญของการทำความดีในสังคม
  • 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพและชุมชนโดยรอบมีความความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันแนบแน่นขึ้น
  • 3. สื่อมวลชน สาธารณชน รับรู้ถึงความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ และวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมากขึ้น
  • 4. นักศึกษาที่ร่วมจัดกิจกรรมได้เรียนรู้การประยุกต์ทฤษฎีจากห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริง และเกิด ทักษะประสบการณ์ในวิชาชีพ

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

สรุปผลการดำเนินงานการบริการวิชาการแก่สังคมในภาคการศึกษาที่ 1/2555

จากการประชุมสรุปผลเมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555 ผู้ร่วมประชุมเสนอแนะประเด็นสำคัญที่ควรมีการแก้ไขปรับปรุง เพื่อการดำเนินการบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

1)      การบริหารจัดการ กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในมหาวิทยาลัย
1.1)  อาจารย์ผู้สอน
-กำหนดนโยบายด้านการบริการวิชาการฯ ของคณะ รวมทั้งการกำหนดโครงสร้างการดำเนินการ และ แผนการ
ดำเนินงานอย่างชัดเจน 
      -เสนอชื่อคณะกรรมการบริการวิชาการเพิ่มเติม (โดยขอความเห็นจากหัวหน้าภาควิชาทราบ) เพื่อให้งานบริการวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของทุกภาควิชา
      -กำหนดโครงสร้างการทำงานบริการวิชาการ  ดังนี้  1) ฝ่ายประสานงานชุมชน
2) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 3) ฝ่ายพิธีการ และเอกสาร 4) ฝ่ายประเมินผล (ดร.เปิ้ล) 5) ฝ่ายงบประมาณ และจัดหาทุน
                        -เผยแพร่นโยบาย โครงสร้าง และแผนการดำเนินงานการบริการวิชาการฯ เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องใน
ระดับหัวหน้าภาค และคณาจารย์ในคณะฯ
-จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริการวิชาการฯ กับคณาจารย์ภายในคณะฯ และนอกคณะฯ ภายใต้การ
ปรึกษาและการให้คำแนะนำจาก รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ
-การเชื่อมต่อผลการดำเนินงาน และแนวทางการดำเนินงานบริการวิชาการเข้ากับรายวิชาต่างๆ ในแต่ละ
ภาควิชา
1.2)  นักศึกษา
-จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบริการวิชาการ ให้กับนักศึกษา เน้นกิจกรรมละลายพฤติกรรม การทำงานเป็น
ทีม และการสร้างจิตอาสา
-อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการ เช่น การบริหารจัดการเวลา
การเรียน การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง
-สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และนอกมหาวิทยาลัย (เช่น การสร้าง
เครือข่ายกับ ม.มหิดล ในการจัดโครงการพัฒนานักศึกษาด้านจิตวิวัฒน์ เป็นต้น)
-ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมการบริการวิชาการฯ อย่างถูกต้อง เกี่ยวกับการที่นักศึกษาต้องเข้า
ไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน   
1.3)  ฝ่ายบริการวิชาการ
-เสนอแนะให้ฝ่ายบริการวิชาการฯ ของมหาวิทยาลัย มีบทบาทสำคัญในการประสานงานกลาง และอำนวย
ความสะดวกกับทุกคณะฯ (ทั้งภายในและภายนอก)
-เสนอแนะให้ฝ่ายบริการวิชาการฯ ของมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในการรวมรวมข้อมูลของชุมชนท้องถิ่น
รวมถึงการสร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
-เสนอแนะให้ฝ่ายบริการวิชาการฯ ของมหาวิทยาลัยจัดประชุมภาพรวมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการฯ ปี
การศึกษา 2556 ร่วมกับคณะฯ ต่างๆ ล่วงหน้า เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อไป

2)      การจัดเตรียมสถานที่
     -ทางเลือกที่ 1: จัดกิจกรรมนอกสถานที่  โดยมีการประสานงานกับทีมงานที่เป็นตัวแทนของคนในพื้นที่
ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
      -ทางเลือกที่ 2: จัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัย  โดยมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าที่เป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพ ให้ข้อมูลอย่างทั่วถึงกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง

3)      การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนส่วน
ควรมีการกำหนดกลยุทธ์ และกลวิธีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
5.1) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ (ระดับท้องถิ่น)
5.2) การสร้างความร่วมมือกับแกนนำชุมชน
5.3) การสร้างความร่วมมือกับชาวบ้าน
5.4) การสร้างความร่วมมือกับสื่อท้องถิ่น
5.5) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนในฐานะผู้สนับสนุนโครงการ

4)      แนวทางการประชาสัมพันธ์ โครงการบริการวิชาการ
4.1) ประสานงานกับทีม  BUCA Creative Culture จัดกิจกรรมถ่ายทอดเรื่องราวของ “การบริการวิชาการ” 
4.2) วิเคราะห์หาแนวทางการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และตอบสนองความต้องการของชุมชน
4.3) สร้างสัมพันธ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่น  เช่น  การจัดเวที “สภา(กาแฟ)สมุนไพร” กับสื่อท้องถิ่น  เทศกาลหนังชุมชนกลางแปลง และมินิคอนเสิร์ต (ชุมชน) เป็นต้น
a.       ใช้สื่อ Social media ในการประชาสัมพันธ์เรื่องราวของชุมชนท้องถิ่นในกลุ่มคนรุ่นใหม่
b.      ทำหนังสือ ถอดบทเรียนการเรียนรู้จากงานบริการวิชาการ
c.       ทีมงานให้สัมภาษณ์ออกรายการ BU Academic Talk
d.      เผยแพร่งานสร้างสรรค์ใน BUCA Creative Channel

โครงการต่อยอด ปีการศึกษา 2/2555
จัดโครงการ “Creative Space II” ณ ศาลาแดงเหนือ เน้นเรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยจะจัดโครงการ “Buddy R-SA” โดยจะมีการคัดเลือกนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 50 คน จับคู่กับยุวชนอาสา 50 คน จากเชียงรากน้อย จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (ให้องค์ความรู้ครบทั้ง 7 ภาควิชา) โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเสนอ Creative Projects จำนวน 50 โครงการนำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 5 โครงการดีเด่น และนำมาต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง โดยร่วมมือกับ SCG, SCB, PTT Chemical, True และ CP All)


โครงการต่อยอด ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2556
1)      โครงการ 1 ภาค 1 โครงการ (โดยประชุมกับหัวหน้าภาคฯ พิจารณาการกระจายกิจกรรมให้ครบทุกภาค
การศึกษา)
2)      เปิดวิชาเลือกอิสระ “วิชาการบูรณาการโครงการบริการวิชาการ” ในปีการศึกษา 2556
3)      การกำหนดเป้าหมายในปี 2556 เพื่อจะนำเนื้อหาจากโครงการบริการวิชาการสู่ความเป็นนานาชาติ ในรูปแบบของงานวิจัย และงานสร้างสรรค์
4)      Web 3.0 บริการวิชาการ (2 ภาษา)
5)      แผนกลยุทธ์การดำเนินงาน และงบประมาณสำหรับปีการศึกษา 2556 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556